Page 60 - หนังสือกิจการประจำปี 2555
P. 60
3. การบริการ
งานด้านบริการสหกรณ์ถือเป็นหัวใจสำคัญ ดังข้อความหนึ่งในวิสัยทัศน์ที่ว่า "บริการเป็นเลิศ"
สหกรณ์ได้จัดโครงการฝึกอบรมเรื่อง การพัฒนาทีมงานสู่การทำงาน และการบริการที่เป็นเลิศ ให้แก่เจ้าหน้าที่
สหกรณ์ และศึกษาดูงานที่สหกรณ์ออมทรัพย์กรมทางหลวง ซึ่งได้นำมาปรับใช้กับสหกรณ์ออมทรัพย์
กรมชลประทาน จำกัด ด้วยการเน้นบริการตามความต้องการของสมาชิกเป็นเป้าหมายหลัก การให้บริการ
สมาชิกด้านสินเชื่อ การรับฝาก-ถอนเงิน ซื้อหุ้นเพิ่ม สะดวก รวดเร็ว สมาชิกเกิดความพึงพอใจ
การจัดโครงการสัมมนาสมาชิกส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งมีคณะกรรมการดำเนินการ
ผู้ตรวจสอบกิจการ และฝ่ายจัดการของสหกรณ์ไปให้ความรู้ เรื่องการออมเงิน การกู้เงิน และสวัสดิการต่างๆ
ของสหกรณ์ การสร้างความสัมพันธ์ สร้างเสริมความรู้ ความถูกต้อง และทัศนคติที่ดีแก่สมาชิกอย่างต่อเนื่อง
ทำให้สมาชิกเกิดความเข้าใจ และมีความเชื่อมั่น ศรัทธาในสหกรณ์มากยิ่งขึ้น
ด้านจัดสวัสดิการมีทุนสวัสดิการให้แก่สมาชิก ได้แก่ ทุนการศึกษาบุตรสมาชิก สมาชิกผู้ประสบ
ภัยพิบัติ สมาชิกถึงแก่กรรม ทุนเงินสะสม และสมาชิกผู้สูงอายุ ทำให้สมาชิกมีความมั่นคงในชีวิตและ
มีความภักดีต่อสหกรณ์
4. การมีส่วนร่วมกับขบวนการสหกรณ์
สหกรณ์ออมทรัพย์กรมชลประทาน จำกัด นอกจากสามารถให้บริการแก่สมาชิกได้อย่างมี
ประสิทธิภาพแล้ว ยังดำเนินการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สหกรณ์ โดยการเข้าเป็นสมาชิกประสาน
ความร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์ออมทรัพย์และองค์กรหลักที่เกี่ยวข้องกับขบวนการสหกรณ์ แลกเปลี่ยนข้อมูล
ความรู้ และความคิดเห็นด้านต่างๆ และพึ่งพาซึ่งกันและกันด้านทุนดำเนินงาน และช่วยเหลือกันด้านทุน
ดำเนินกิจกรรม เป็นต้น
5. การบริหารการเงิน
ด้วยตระหนักดีว่า การพึ่งพารายได้จากการให้สินเชื่อแก่สมาชิกอย่างเดียวนั้นจะส่งผลกระทบต่อ
ภาระการจ่ายเงินปันผลได้ในอนาคต คณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 32 และฝ่ายจัดการ ได้บริหารจัดการ
ด้านการเงินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ให้มีสภาพคล่องทางการเงินที่ดี การเปิดให้สมาชิกซื้อหุ้นซื้อเพิ่ม
ไม่จำกัดจำนวนเงิน ในระยะเวลาที่กำหนด การรับฝากเงิน การเชิญชวนสมาชิกร่วมโครงการออมเงินต่อเนื่อง
ส่งเสริมสมาชิกประหยัดโดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ลด ละ เลิก ฟุ่มเฟือย ให้สมาชิกวางแผนการกู้เงินจาก
สหกรณ์ไปใช้ตามความจำเป็น ซึ่งปัจจุบันสหกรณ์มีการขยายวงเงินกู้ตามภาวะเศรษฐกิจและความต้องการ
ของสมาชิก ทำให้เงินทุนหมุนเวียนยังไม่เพียงพอที่จะให้บริการสมาชิกอย่างทั่วถึง และในบางครั้งต้องใช้
บริการเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินภายนอก เช่น การออกตั๋วสัญญาใช้เงิน การนำเงินบางส่วนลงทุนใน
รูปแบบของพันธบัตร หุ้นกู้ เงินฝาก ซื้อสลาก เป็นต้น อย่างไรก็ตามคณะกรรมการดำเนินการ ได้วิเคราะห์
จากสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกเพื่อให้การบริหารการเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภามากที่สุด
ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงมีสภาพคล่อง ระเบียบข้อบังคับของสหกรณ์เป็นที่ตั้ง
60