Page 98 - หนังสือกิจการประจำปี 2555
P. 98

63.06 แสดงให้เห็นว่า  "สหกรณ์ฯ มีความสามารถในการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพระดับใกล้เคียงกับ

           ปีก่อนๆ และค่าเฉลี่ยโดยรวมสหกรณ์ฯ ยังมีการวางแผนหรือกำหนดกลยุทธ์เพื่อที่จะทำให้อัตรากำไรสุทธิ
           เพิ่มขึ้น และมุ่งมั่นเพื่อที่จะสร้างความพอใจสูงสุดให้กับสมาชิก"



           4. สภาพคล่อง (Liquidity)

                  อัตราส่วนทุนหมุนเวียน

                      สหกรณ์ฯ มีอัตราส่วนทุนหมุนเวียนปีปัจจุบัน 0.33 เท่า ปีก่อน 0.37 เท่า ซึ่งลดลงจากปีก่อน
           เล็กน้อย และเมื่อเทียบกับอัตราส่วนเฉลี่ยโดยรวมปี 54 (Peer Group) เท่ากับ 0.45 เท่า ซึ่งน้อยกว่า
           ค่าเฉลี่ยโดยรวมไม่มากนัก แสดงให้เห็นว่า  "สหกรณ์ฯ มีการรักษาสภาพคล่องไว้ได้อย่างเหมาะสม

           กับความจำเป็นในการใช้เงิน"


           5. เรื่องความเสี่ยงและผลกระทบภายนอกต่อการดำเนินงานของสหกรณ์

             (Risk and Sensitivity)

                      ในปัจจุบัน เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด สืบเนื่องจากปัญหาหนี้สาธารณะ

           ของกลุ่มประเทศยูโรที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะสามารถฟื้นตัวได้ในเร็ววัน อีกทั้งปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์
           และการว่างงานของประเทศสหรัฐฯ ที่แม้จะมีสัญญาณในเชิงบวกแต่ก็ยังไม่มากพอที่จะฉุดเศรษฐกิจที่
           ซบเซาให้ดีขึ้นได้ เหล่านี้ส่งผลต่อภาวะการส่งออกของภูมิภาค โดยเฉพาะประเทศจีนที่อยู่ในช่วงชะลอตัว

           อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นตัวเลขการส่งออกของประเทศไทยจึงถูกผลกระทบอย่างรุนแรงและไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

                      ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจในประเทศทั้งการบริโภค และการลงทุนของเอกชนที่เคยฟื้นตัว
           และมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงต้นปีจนถึงกลางไตรมาสสามกลับเริ่มชะลอตัวลงเนื่องจากการ

           เติบโตดังกล่าวเป็นผลจากการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลของมหาอุทกภัยในปลายปีที่แล้ว อีกทั้งการปรับตัว
           เพื่อรับมือต่อเงินเฟ้อจากทั้งค่าแรงขั้นต่ำและราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอยู่ในเกณฑ์ดี ดังนั้นปัจจัยกดดันต่อเงินเฟ้อ

           จึงเบาบางลงแล้ว

                      กล่าวโดยสรุป ปัจจัยสนับสนุนให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อชะลอการขยายตัวทางเศรษฐกิจและ
           เงินเฟ้อ ภายในประเทศจางหายไปแล้ว ในขณะที่ผลกระทบจากการส่งออกที่ซบเซาตามเศรษฐกิจโลก

           กลับส่งผลอย่างชัดเจนต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย ดังนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน
           (กนง.) เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2555 จึงมีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจาก 3.00% มาอยู่ที่ 2.75% เพื่อให้เกิด
           การกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะภาคการผลิตเพื่อการส่งออกให้มากขึ้น แนวโน้มของอัตรา

           ดอกเบี้ยหลังจากนี้จึงคาดการณ์ได้ว่าจะทรงตัวอยู่ที่ระดับ 2.75% ไประยะหนึ่ง จนกว่าผลของการแก้ไข
           ปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศยูโรจะเริ่มคลี่คลาย ดังนั้น จึงต้องติดตามสถานการณ์ และสภาวะดอกเบี้ย

           อย่างใกล้ชิดเพื่อนำผลไปพิจารณาปรับเปลี่ยนนโยบายการบริหารงานอย่างเหมาะสมและทันต่อเหตุการณ์
           ที่ผันแปรไปอย่างรวดเร็วด้วย



           98
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103