Page 2 - หนังสือรายงานประจำปี 2561
P. 2
เขื่อนเจ้าพระยา
ต�าบลบางหลวง อ�าเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท
ความเป็นมา
โครงการชลประทานเจ้าพระยาใหญ่ เป็นโครงการพัฒนาลุ่มนํ้าเจ้าพระยาเพื่อประโยชน์ในการเพาะปลูก
สําหรับพื้นที่ทุ่งราบภาคกลางสองฝั่งแม่นํ้าเจ้าพระยา ตั้งแต่จังหวัดชัยนาทลงมาถึงพื้นที่แถบชายทะเล แต่เดิม
การเพาะปลูกในเขตพื้นที่ดังกล่าว อาศัยนํ้าฝนเป็นหลักเป็นเหตุให้เกษตรกรในอดีตได้รับความเดือดร้อนในปี
ที่มีฝนตกน้อยอยู่เสมอ จึงมีความจําเป็นในการก่อสร้างโครงการชลประทาน เพื่อช่วยเหลือการทํานาให้ได้
ผลผลิตสมํ่าเสมอ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม แต่ในเวลานั้นความรู้และทักษะทางด้านวิศวกรรม
การชลประทานยังไม่เป็นที่ชํานาญ จึงจําเป็นต้องมีการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ
โดยเริ่มศึกษาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2455 ได้เชิญ
นายเย โฮมัน วันเดอร์ไฮเด ผู้เชี่ยวชาญการชลประทานชาวฮอลันดาเข้ามาวางโครงการชลประทาน และเสนอให้สร้าง
โครงการเจ้าพระยาใหญ่ที่ อําเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท เพื่อทดนํ้าในแม่นํ้าเจ้าพระยาให้มีระดับสูงแล้วส่งนํ้า
เข้าพื้นที่ทํานาทั้งสองฝั่งแม่นํ้าเจ้าพระยาจนถึงชายทะเลประมาณ 7.5 ล้านไร่ แต่ประเทศไทยต้องใช้เงินทํานุบํารุง
ประเทศในด้านอื่นก่อน การก่อสร้างโครงการเจ้าพระยาใหญ่จึงต้องระงับไว้
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดนํ้าแล้งขึ้น 2-3 ปี ติดต่อกัน รัฐบาลในสมัย
นั้นจึงต้องเชิญ เซอร์ ทอมมัส วอร์ด ผู้เชี่ยวชาญการชลประทานชาวอังกฤษเข้ามาวางโครงการอีกในปี พ.ศ. 2456
และผู้เชี่ยวชาญได้เสนอให้ก่อสร้างโครงการเจ้าพระยาใหญ่ แต่ในเวลานั้นอยู่ในระยะสงครามโลกครั้งที่ 1
การก่อสร้างโครงการเจ้าพระยาใหญ่จึงต้องระงับอีก
ต่อมาในปี พ.ศ. 2491 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ขณะที่หลายๆ 20
ประเทศกําลังขาดแคลนอาหาร คณะผู้เชี่ยวชาญขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) 40
ได้ให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่แก่รัฐบาลสมัยนั้น เพื่อกู้เงินธนาคารโลกจํานวน 18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
หรือประมาณ 360 ล้านบาท มาก่อสร้างโครงการเจ้าพระยาใหญ่เพื่อที่จะฟื้นฟูและส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศไทย
ในด้านเกษตรกรรมและคมนาคมทางนํ้า เพื่อประชาชนชาวไทยจะได้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น โดยได้เริ่มเตรียมงาน
เบื้องต้นในปี พ.ศ. 2494 และเริ่มก่อสร้างเขื่อนเจ้าพระยา พร้อมกับงานระบบส่งนํ้าในปี พ.ศ. 2495 แล้วเสร็จ
ในปี พ.ศ. 2500
ที่ตั้ง
บริเวณคุ้งบางกระเบียน หมู่ที่ 3 ตําบลบางหลวง อําเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท
ลักษณะเขื่อน รับประกันถึงอายุสูงสุุด 80 ป
เขื่อนมีความยาว 237.50 เมตร สูง 16.5 เมตร เขื่อนมีช่องระบาย 16 ช่อง มีประตูเรือติดกับเขื่อนด้านขวากว้าง
14 เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2500 สามารถเก็บกักนํ้าได้ 265 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับประโยชน์ 5,718,000 ไร่ ระยะเวลา รับประกันโดยไมตองกรอกใบคำขอ
ก่อสร้าง 5 ปี (2495-2500) เรือขนาดใหญ่สามารถผ่านเข้าออกได้
ประโยชน์ เอาประกันและไมตองแถลงสุขภาพ
1. ส่งนํ้าให้พื้นที่เกษตรลุ่มนํ้าเจ้าพระยาตอนล่างรวม 7.5 ล้านไร่
2. ผลิตไฟฟ้าพลังสะอาดได้ 61.75 ล้านหน่วย/ปี
3. ระบายนํ้าด้านท้ายเขื่อนลงแม่นํ้าเจ้าพระยาเพื่อการอุปโภค บริโภค อุตสาหกรรม ในจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง
พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
4. ช่วยควบคุมปริมาณนํ้าเสียและนํ้าเค็มในแม่นํ้าเจ้าพระยาและแม่นํ้าลําคลองต่างๆ ในลุ่มนํ้าเจ้าพระยา
5. รักษาระดับนํ้าให้เหมาะสมกับการเดินเรือในแม่นํ้าเจ้าพระยา
6. ควบคุมและป้องกันอุทกภัยในแม่นํ้าเจ้าพระยา
ART-��-������ ������ �������� 2562-03.indd 2 19/11/2562 14:32:35